เกี่ยวกับเขื่อน

4

 

ในอดีตแม้ว่ารัฐบาลได้เร่งพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้า และดำเนินการแล้วเสร็จถึง 2 โครงการ คือโครงการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ที่จังหวัดขอนแก่นและเขื่อนน้ำพุงที่จังหวัดสกลนคร แต่พลังงานไฟฟ้าจากทั้งสองโครงการยังไม่ครอบคลุมไปทั่วภูมิภาค เพราะอีกหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ ยังประสบกับภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากการเดินเครื่องดีเซลขนาดเล็ก ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงและราคาที่ประชาชน ซื้อไฟนั้นแพงกว่าที่จ่ายจากระบบหลักของประเทศ นอกจากนี้ความต้องการไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกือบจะเกินขีดความสามารถของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมหากไม่เร่งดำเนินการก่อสร้างเขื่อนสิรินธรให้ทันการ จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบกับภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าอย่างรุนแรง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ทำให้การพัฒนาก้าวหน้าไปได้ช้ากว่าที่ควร ดังนั้น รัฐบาลจึงมอบหมายให้การพลังงานแห่งชาติ(ปัจจุบันคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน) ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2511 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน2515 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้รับมาดำเนินการต่อ

22

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า

เขื่อนสิรินธรเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นลำน้ำลำโดมน้อย อันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อยตำบลนิคมลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ตัวเขื่อนมีความสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร สันเขื่อนกว้าง 7.5 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 288 ตารางกิโลเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 1,966.5 ล้านลูกบาศก์เมตรที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 142.2 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง(รทก)

การก่อสร้างโรงไฟฟ้า

anigif

ได้เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2511 ระยะแรกแล้วเสร็จในปี 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขนานนามเขื่อนว่า"เขื่อนสิรินธร" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2514

อาคารโรงไฟฟ้า

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่เหนือระดับพื้นดิน 1 ชั้นส่วนอีก 4 ชั้นอยู่ใต้ระดับพื้นดิน ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 12,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 36,000 กิโลวัตต์ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องทำ งานและห้องควบคุม ปัจจุบันสามารถควบคุมการเดินเครื่องได้ทั้งที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร และที่ศูนย์ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น

 

ประโยชน์
1. ผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้ปีละประมาณ 90 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง และเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าใน
เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝั่งตะวันออก
2. การชลประทาน ช่ายการเพาะปลุกในพื้นที่การเกษตรประมาณ 150,000 ไร่
3. บรรเทาอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
4. การประมง อ่างเก็บน้ำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา น้ำจืดขนาดใหญ่ สร้างรายได้ให้ราษฎรบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ
5. การคมนาคม เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำและติดต่อค้าขาย
6. การท่องเที่ยว เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเกิดการขยายตัวด้านธุรกิจท่องเที่ยว

 

จัดทำโดย : หพน-ผ [website.egat.co.th]