เกี่ยวกับเขื่อน

1

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลถูกจัดอยู่ในแผนพัฒนาไฟฟ้าของ กฟผ. ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2540) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 งานแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2537
เขื่อนปากมูลสร้างปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเห่ว อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากจังหวัดไปตามลำน้ำประมาณ 82.5 กิโลเมตร และห่างจากปากแม่น้ำมูลที่ไหลลงแม่น้ำโขงประมาณ
6 กิโลเมตร

6

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนปากมูลเป็นเพียงเขื่อนทดน้ำ ลักษณะเหมือนฝายน้ำล้นไม่ใช่เขื่อนกักเก็บน้ำ สร้างด้วยคอนกรีตบดอัดแน่น ความสูง17 เมตร ยาว 300 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร ระดับสันเขื่อน 111 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง(รทก.) อาคารระบายน้ำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แบ่งช่องทางระบายน้ำ 8 ช่อง ติดตั้งประตูควบคุมน้ำแบบเหล็กบานโค้งขนาดกว้าง 22.5 เมตร สูง 14.75 เมตร อัตราการระบายน้ำสุุงสุด 18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

5

โรงไฟฟ้า

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทอดยาวไปตามแนวเขื่อนด้วยความยาว 72 เมตร ภายในติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 4 เครื่อง แต่ละเครื่องมีกำลังผลิตเครื่องละ 34,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 136,000 กิโลวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลียปีละ ประมาณ 280 ล้านหน่วย

ประโยชน์

1. การชลประทาน ทำให้ลำน้ำมูลเหนือเขื่อน ซึ่งมีความยาว 150 กิโลเมตร มีน้ำสมบูรณ์
เป็นประโยชน์ต่อพื่อที่เกษตรกรรม
2. ประมง กฟผ.ได้จัดทำบันไดปลาโจน และก่อสร้างศูนย์เพาะพันธ์ปลาขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาการประมงในลำน้ำเหนือเขื่อนให้เหมาะสม
3. สนับสนุนฌครงการ โขง ชี มูล ซึ่งเป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาถึงตอนบนของอีสาน เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรในภาคอีสานลุ่มน้ำชีและลุม่น้ำมูล น้ำส่วนหนึ่งที่เหลือใช้จากพื้นที่การเกษตร เมื่อปล่อยออกจากเขื่อนปากมูล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าได้ประโยชน์อีกทางหนึ่งด้วย
4. สันเขื่อนปากมูลเป็นเส้นทางสัญจร แก่ราษฎรที่ใช้เส้นทางเชื่อมระหว่าง อำเภอโขงเจียม ไปยังอำเภอสิรินธร
5. เป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
6. ช่วยเสริมกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความมั่นคง
7. บรรเทาผลการกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประชาชน กฟผ.ได้ปรับลดขนาดโครงการฯ ลง โดยย้ายที่ตั้งตัวเขื่อนมาอยู่ทางเหนือน้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร ที่บ้านหัวเห่ว และลดระดับกักเก็บน้ำมาอยู่ที่ระดับ 108 เมตร (รทก.) กำลังผลิตไฟฟ้าจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 300,000 กิโลวัตต์ ลดลงเหลือเพียง 136,000 กิโลวัตต์ ทำให้แก่งตะนะ วัดดอนธาตุ และ
แก่งสะพือ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

จัดทำโดย : หพน-ผ [website.egat.co.th]